Mon - Sun: 10.00AM to 08.00PM
ติดต่อสอบถาม: 02-012-0192

รากฟันเทียม กับหลายสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจทำ

admin01

รากฟันเทียม

ฟันถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญสำหรับเราทุกคน นั่นจึงทำให้เราจะต้องดูแลฟันให้คงอยู่กับเราให้นานที่สุด แต่ไม่ว่าเราจะดูแลรักษาฟันอย่างดีเพียงใดก็ตาม ด้วยวัยของเราที่มากขึ้นก็จะทำให้เราต้องสูญเสียฟันแท้ไปตามกาลเวลา รากฟันเทียม นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีที่สุดที่จะใช้รักษาและแก้ปัญหาในกรณีที่เราต้องสูญเสียฟันแท้ไปด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพชีวิตที่ดีและความมั่นใจของคุณ กลับคืนมาได้

รากฟันเทียม ฟันธรรมชาติ

ความสำคัญของรากฟัน

ต้นไม้มีความมั่นคงแข็งแรงด้วยรากฉันใด ฟันของคนเรานั้นก็จะต้องอาศัยรากฟันเป็นฐานเช่นนั้นไม่ต่างกัน สิ่งที่เราควรต้องรู้ก็คือ

·       รากฟันของคนเรานั้น เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพราะเป็นส่วนที่อยู่ลึกลงไปใต้เหงือก

·       การที่รากฟันอยู่ลึกนี่เองจึงทำให้การดูแลรักษาทำได้ยาก

·       เมื่อเราไม่สามารถดูแลรากฟันได้ หากรากฟันเกิดปัญหาจนส่งผลกระทบลุกลามไปยังฟันของเรา ก็จะทำให้เราสูญเสียฟันแท้ไปได้ง่าย ๆ

·       หากรากฟันเกิดการติดเชื้อก็อาจส่งผลเสียรุนแรงอย่างมาก เช่นลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ในช่องปากและบริเวณปากอย่างเหงือกและขากรรไกร และเป็นอันตรายถึงขั้นติดเชื้อรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ดังนั้น รากฟันจึงมาความสำคัญมาก หากเรามีปัญหาที่รากฟันหรือสูญเสียรากฟันไป จึงต้องทำการแก้ไขรักษา ซึ่งในปัจจุบันหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากก็คือ การฝัง รากฟันเทียม 

 

ทำความรู้จักกับ รากฟันเทียม

ทำความรู้จักกับรากฟันเทียม

วัสดุที่นำมาผลิตรากเทียมนั้นจะเป็นวัสดุทดแทนรากฟันจริงซึ่งสามารถฝังลงไปในร่างกายของมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย ที่มีใช้กันทั่วไปในปัจจุบันก็จะมีที่มาจากหลายแหล่ง ทั้งยุโรป อเมริกา และเอเชีย ซึ่งแหล่งที่มาต่างกันวัสดุที่ใช้ก็อาจจะต่างกันไป นั่นทำให้รูปทรงก็อาจจะแตกต่างกันไปด้วย มีทั้งแบบชนิดที่ถอดได้และแบบยึดติดแน่น (คลิ๊กเพื่ออ่าน…รากฟันเทียมทำมาจากอะไร)

รากเทียมกับกลไกการทำงาน

·       ทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมนี้เข้าไปที่บริเวณขากรรไกรภายใต้เหงือก หรืออาจจะฝังตรงบริเวณตำแหน่งที่ฟันแท้ได้หลุดไป

·       เมื่อรากฟันเทียมประสานแนบสนิทกับกระดูกขากรรไกรแล้ว ทันตแพทย์จะทำฟันปลอมขึ้นมาใหม่และนำฟันปลอมนั้นไปติดยึดกับรากเทียมอีกที

·       เมื่อฟันปลอมยึดติดกับรากเทียมสนิทแล้ว ก็จะทำงานร่วมกัน ทำให้เราสามารถพูดหรือเคี้ยวอาหารได้ตามปกติเหมือนกับตอนที่ฟันแท้ยังไม่หลุดออกไปนั่นเอง

การทำรากเทียมมีกี่รูปแบบ

ปัจจุบันการทำรากฟันเทียมจะแบ่งออกกว้าง ๆ เป็น 3 รูปแบบด้วยกันนั่นคือ

1.         Conventional Implant: การผ่าตัดฝังรากเทียมเข้าไปที่กระดูกขากรรไกรแบบทั่วไป คือ จะต้องมีการวางแผนรักษา นัดคนไข้มาหาตำแหน่งที่จะทำการฝังรากเทียม รูปแบบนี้เมื่อทำการฝังรากเทียมแล้วจะต้องรอให้ส่วนของรากเทียมประสานยึดติดกับกระดูก ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 – 6 เดือน

2.         Immediate implant: รูปแบบนี้ก็คือหลังจากทำการถอนฟันเสร็จก็จะทำการฝังรากเทียมทันที ซึ่งปกติแล้วทันตแพทย์จะเลือกวิธีนี้ในกรณีที่ตำแหน่งฟันที่มีปัญหาเป็นฟันหน้าหรือฟันกล้ามน้อย แต่อย่างไรก็จะต้องพิจารณาดูปัจจัยอื่น ๆ ด้วยอีกครั้งว่ามีความพร้อมและสามารถทำได้หรือไม่

3.         Immediate loaded implant: รูปแบบนี้จะเป็นส่วนของทันตกรรมประดิษฐ์ คือหลังจากทำการฝังรากเทียมแล้วทันตแพทย์จะมีการทำครอบฟัน โดยครอบลงไปที่รากเทียมทันที ตัวครอบฟันอาจจะเป็นแบบที่ใช้ชั่วคราวหรือแบบติดแน่นถาวรก็ได้ ซึ่งรูปแบบนี้ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร แต่จะตอบโจทย์เรื่องของระยะเวลาการรักษาของคนไข้ และได้ประโยชน์ในเรื่องของความสวยงามของฟัน

ข้อดีของการทำรากเทียม

·       รากเทียมจะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาฟันแท้หลุดกลับมามีความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันเหมือนเดิม

·       ผู้ที่ทำรากเทียมจะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างการใส่ฟันปลอมด้วยรากเทียมกับฟันแท้เลย เรียกว่าดูเป็นธรรมชาติและทำงานได้อย่างใกล้เคียงกับฟันแท้มากที่สุด การบดเคี้ยวอาหารจะทำได้ดี ปัญหาการออกเสียงไม่ชัดก็จะหายไป

·       การทำรากเทียมไม่จำเป็นต้องกรอฟันที่อยู่ข้างเคียง จึงเป็นวิธีการรักษาที่ไม่ทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงสูญเสียเนื้อฟันที่เป็นธรรมชาติไป

·       ทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงไม่ผิดรูป เพราะธรรมชาติของฟันจะต้องมีการพิงกัน ถ้าฟันเกิดช่องว่าง ไม่ขบกันเป็นเวลานาน ก็จะทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงเกิดการเลื่อนหรือล้มจนผิดรูปได้

·       เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเสริมสุขภาพช่องปาก ช่วยให้ไม่มีปัญหาฟันผุหรือปัญหาเหงือกตามมา

3D รากฟันเทียม

ขั้นตอนการทำรากเทียม

1.         ทันตแพทย์จะทำการประเมินผู้ป่วย โดยตรวจสอบและเช็กสภาพช่องปากโดยละเอียด พิจารณาประวัติการรักษาอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย

2.         กรณีที่สามารถทำได้ ทันแพทย์จะทำการ x-ray3D เพื่อวิเคราะห์สภาพของกระดูกและเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะข้างเคียงที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการรักษา (คลิ๊กเพื่ออ่าน… การทำ CT scan (x-ray3D) สำคัญอย่างไรต่อกระบวนฝังรากฟันเทียม)

3.         เมื่อทุกอย่างพร้อมก็จะเข้าสู่กระบวนการขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียม ซึ่งจะเป็นการผ่าตัดเล็ก มีการให้ยาชาเฉพาะที่

4.         หลังผ่าตัดใส่รากเทียมเสร็จแล้ว แพทย์ก็จะทำการเย็บแผล และจากนั้นก็จะให้คนไข้รอประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้รากเทียมกับส่วนกระดูกเชื่อมติดกัน ระหว่างนี้แพทย์ก็อาจจะนัดคนไข้มาตรวจดูเป็นระยะ

5.         เมื่อครบกำหนดแล้ว แพทย์ก็จะนัดคนไข้เพื่อมาทำการผ่าตัดอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้จะเป็นการเติมส่วนที่เป็นแกนของฟันลงไปที่รากเทียม

6.         สุดท้ายก็จะเป็นการทำฟันเทียมขึ้นมาใหม่ และยึดฟันเทียมเข้ากับรากเทียม ก็เป็นอันเรียบร้อย หลังจากนี้แพทย์ก็จะนัดมาตรวจดูความเรียบร้อยเป็นระยะไป

ฟันที่ต้องทำ รากฟันเทียม

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการทำรากเทียม

·       ผู้ที่มีปัญหาฟันหัก ฟันแตก หรือบิ่น แล้วเกิดผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

·       ผู้ที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับฟันแท้ที่ยังคงเหลืออยู่เดิม

·       ผู้ที่สูญเสียฟันแท้แล้วสูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิต ไม่กล้ายิ้มและไม่กล้าพูดคุย

·       ผู้ที่สูญเสียฟันแท้แล้ว เกิดปัญหาในการบดเคี้ยวจนทำให้รับประทานอาหารไม่ได้

·       ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แล้วฟันปลอมไม่กระชับช่องปาก แม้จะแก้ไขแล้วก็ยังไม่หาย

อย่างไรก็ดี แม้ผู้ที่ปัญหาเหล่านี้จะควรเข้ารับการทำรากเทียมก็ตาม แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ ที่แพทย์จะต้องพิจารณาร่วมด้วย เช่น คนไข้มีปริมาณของกระดูกไม่เหมาะสมกับการฝังรากเทียม ก็อาจจะต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติมโดยการผ่าตัดยกเยื่อไซนัสเพื่อทำการปลูกกระดูก (คลิ๊กเพื่ออ่าน…การปลูกกระดูกรากฟันเทียม) ซึ่งอาจทำก่อนการผ่าตัดฝังรากเทียมก็ได้ หรือจะทำไปพร้อม ๆ กันเลยก็ได้ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีไป

ฝังรากเทียม 1 ครั้งจะอยู่ได้นานเท่าไหร่

การทำรากเทียมนั้น โดยเฉลี่ยการทำ 1 ครั้งจะมีอายุการใช้อยู่ที่ 10 ปี ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของแต่ละคนด้วย แม้รากเทียมจะไม่ผุกร่อน แต่ถ้าหากไม่ดูแลรักษาช่องปากให้ดี ก็อาจทำให้แบคทีเรียเข้าไปทำร้ายรากเทียมจนทำให้เกิดเหงือกอักเสบได้เช่นกัน

หลักการพิจารณาเลือกรากเทียม

สำหรับคลินิกทันตกรรมทั่วไป ก็มักจะมีทางเลือกให้กับผู้เข้ารับการรักษา โดยแพทย์จะเปิดโอกาสให้เลือกชนิดและรูปแบบของรากเทียมได้เอง ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากหลายแบรนด์มาก ๆ มีทั้งรากฟันเทียมยุโรปและรากฟันเทียมเกาหลี (คลิ๊กเพื่ออ่าน…รากฟันเทียมแบบยุโรป vs เกาหลี เลือกแบบไหนที่จะใช่สำหรับเรา) รวมไปถึงยังมีแบรนด์จากฝั่งจีน อเมริกา และประเทศทางโซนอเมริกาใต้ด้วย จึงทำให้เป็นปัญหาอยู่ไม่น้อยสำหรับการตัดสินใจ แต่หลักพิจารณาง่าย ๆ ในเบื้องต้นก็คือ

·       พิจารณาเรื่องมาตรฐาน: สอบถามจากแพทย์และทางคลินิกได้เลยว่า ในไทยมีตัวแทนจำหน่ายเยอะไหม หาอะไหล่ยากหรือเปล่า แม้จะดีแต่ถ้าหาอะไหล่ยากก็ไม่ควรเลือก

·       มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือไม่: ถ้าเป็นแบรนด์ชั้นนำมักจะมีการค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลอย่างมากต่อเรื่องอะไหล่ และเรื่องคุณภาพ

·       คุณภาพของวัสดุและการออกแบบ: บางทีเกรดของวัสดุเหมือนกัน แต่การออกแบบอาจต่างกัน หรือบางครั้งการออกแบบมาคล้ายกัน แต่ใช้วัสดุต่างกันก็มี ก็ต้องดูว่าอะไรน่าจะเหมาะสมกับเราที่สุด ให้เลือกแบบที่เรามั่นใจมากที่สุดนั่นเอง

ค่าใช้จ่ายในการทำรากเทียม

มาถึงตรงนี้ทุกคนคงต้องการจะรู้แล้วว่า ค่าใช้จ่ายในการทำรากฟันเทียมแพงไหม ก็ต้องตอบว่าราคาในการทำรากเทียมนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงพอสมควร โดยมีราคาตั้งแต่หลักหมื่นบาทไปจนกระทั่งถึงหลักแสนเลยทีเดียว ราคาโดยเฉลี่ยที่เป็นราคากลางก็จะอยู่ที่ 35,000 – 50,000 บาทโดยประมาณ ราคาจะสูงขึ้นกว่านี้ก็อยู่ที่ชนิดของวัสดุ รวมถึงความชำนาญของแพทย์ด้วย

แต่ในปัจจุบัน ก็จะเริ่มมีการให้บริการทำรากเทียมแบบราคาไม่แพง ซึ่งราคาจะถูกกว่าราคาปกติทั่วไปมาก และสามารถใช้งานได้จริงเช่นกัน แต่ทว่าก็อาจก่อปัญหากับช่องปากและอาจเป็นอันตรายได้ในอนาคต เพราะวัสดุที่ใช้นั้นอาจไม่ได้มีคุณภาพมากนัก รวมไปถึงแพทย์ผู้ทำอาจไม่ชำนาญมากเพียงพอ ตรงนี้จึงเป็นสิ่งที่คุณจะต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจ (คลิ๊กเพื่ออ่าน…รากฟันเทียมแบบที่ราคาถูกและดีมีจริงหรือ ?)

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณควรจะต้องรู้ก่อนตัดสินใจทำรากฟันเทียม ซึ่งคงพอจะช่วยให้คุณรู้แล้วว่า การทำในส่วนนี้อันตรายหรือไม่ ตนเองเหมาะสมหรือไม่ ต้องเตรียมตัวอย่างไร และต้องเตรียมเรื่องของค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้างนั่นเอง

 
dentistaonnut
dentistaonnut
LINE