Mon - Sun: 10.00AM to 08.00PM
ติดต่อสอบถาม: 02-012-0192

รากฟันเทียม ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

admin01

รากฟันเทียม ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

อวัยวะที่มีความแข็งแรงที่สุดของร่างกาย คือ ฟัน แต่เมื่อรู้แบบนี้แล้วไม่ใช่ว่า จะละเลย ไม่ดูแล รักษาฟัน เพราะถ้าคิดแบบนี้แล้ว ถือว่าผิดมาก ทุกสิ่งล้วนแล้ว ย่อมเสื่อมสลาย ดังนั้นเราควรดูแลฟันให้คงอยู่กับเราให้นานที่สุด

การดูแลรักษาฟันอย่างดีเพียงใดก็ตาม ด้วยวัยของเราที่มากขึ้นก็จะทำให้เราต้องสูญเสียฟันแท้ไปตามกาลเวลา รากฟันเทียม นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีที่สุดที่จะใช้รักษา และ แก้ปัญหาในกรณีที่เราต้องสูญเสียฟันแท้ไปด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพชีวิตที่ดีและความมั่นใจของคุณ กลับคืนมาได้

 

ความสำคัญของรากฟัน

ตึกที่มั่นคงแข็งแรงด้วยรากฐานฉันใด ฟันของคนเราก็จะต้องอาศัยรากฟันเป็นฐาน ไม่ต่างกัน สิ่งที่เราควรต้องรู้ก็คือ

· รากฟันของคนเรา แน่นอนว่าไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแน่นอน เพราะเป็นส่วนที่อยู่ลึกลงไปใต้เหงือก

· รากฟันที่อยู่ลึก ก็ย่อมยากในการดูแล รักษา

· เมื่อเราไม่สามารถดูแลรากฟันได้ หากรากฟันเกิดปัญหา จนส่งผลกระทบลุกลามไปยังฟันของเรา ก็จะทำให้เราสูญเสียฟันแท้ไปได้ง่าย ๆ

· การที่รากฟันติดเชื้อ จะอาจส่งผลเสียรุนแรงอย่างมากตามมา เช่น เชื้อจะลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ในช่องปาก และ บริเวณปากอย่างเหงือก และ ขากรรไกร ซึ่งเป็นอันตราย ถึงขั้นติดเชื้อรุนแรง จนอาจทำให้เสียชีวิตได้เลย

ตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว รากฟันจึงไม่ใช่สิ่งที่จะละเลยได้ ควรให้ความสำคัญ หากเรามีปัญหาที่รากฟัน หรือสูญเสียรากฟันไป จึงต้องทำการแก้ไขรักษา ซึ่งในปัจจุบันหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากก็ คือ การฝัง รากฟันเทียม 

 

ทำความรู้จักกับรากฟันเทียม

วัสดุที่นำมาผลิตรากเทียมนั้น จะเป็นวัสดุทดแทนรากฟันจริง ซึ่งสามารถฝังลงไปในร่างกายของมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย ที่มีใช้กันทั่วไปในปัจจุบันก็จะมีที่มาจากหลายแหล่ง ทั้งยุโรป อเมริกา และ เอเชีย ซึ่งแหล่งที่มาต่างกันวัสดุที่ใช้ก็อาจจะต่างกันไป นั่นทำให้รูปทรงก็อาจจะแตกต่างกันไปด้วย มีทั้งแบบชนิดที่ถอดได้ และแบบยึดติดแน่น

 

รากเทียมกับกลไกการทำงาน

·       ทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมนี้เข้าไปที่บริเวณขากรรไกรภายใต้เหงือก หรือ อาจจะฝังตรงบริเวณตำแหน่งที่ฟันแท้ได้หลุดไป

·       เมื่อรากฟันเทียมประสานแนบสนิทกับกระดูกขากรรไกรแล้ว ทันตแพทย์จะทำฟันปลอมขึ้นมาใหม่และนำฟันปลอมนั้นไปติดยึดกับรากเทียมอีกที

·       เมื่อฟันปลอมยึดติดกับรากเทียมสนิทแล้ว ก็จะทำงานร่วมกัน ทำให้เราสามารถพูดหรือเคี้ยวอาหารได้ตามปกติเหมือนกับตอนที่ฟันแท้ยังไม่หลุดออกไปนั่นเอง

 

การทำรากเทียมมีกี่รูปแบบ

ปัจจุบันการทำรากฟันเทียมจะแบ่งออกกว้าง ๆ เป็น 3 รูปแบบด้วยกันนั่นคือ

1. Conventional Implant : การผ่าตัดฝังรากเทียมแบบทั่วไป คือ จะต้องมีการวางแผนรักษา นัดคนไข้มาหาตำแหน่งที่จะทำการฝังรากเทียม รูปแบบนี้เมื่อทำการฝังรากเทียมแล้ว จะต้องรอให้ส่วนของรากเทียมประสานยึดติดกับกระดูก ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 – 6 เดือน

2. Immediate implant : รูปแบบนี้ คือหลังจากทำการถอนฟันเสร็จ ก็จะทำการฝังรากเทียมทันที ซึ่งปกติแล้วทันตแพทย์จะเลือกวิธีนี้ ในกรณีที่ตำแหน่งฟันที่มีปัญหาเป็นฟันหน้า หรือ ฟันกล้ามน้อย แต่อย่างไรก็จะต้อง ต้องพิจารณาดูปัจจัยอื่น ๆ ด้วยอีกครั้ง ว่ามีความพร้อม และ สามารถทำได้หรือไม่

3. Immediate loaded implant : เป็นการฝังรากฟันเทียมทดแทนฟันที่หายไประยะหนึ่งแล้วคล้ายๆกับการฝังรากฟันเทียม หลังจากทำการฝังรากเทียมแล้ว ทันตแพทย์จะมีการทำครอบฟัน โดยครอบลงไปที่รากเทียมทันที ตัวครอบฟันอาจจะเป็นแบบ ที่ใช้ชั่วคราว หรือ แบบติดแน่นถาวรก็ได้ ซึ่งรูปแบบนี้ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควร แต่จะตอบโจทย์เรื่อง ของระยะเวลาการรักษาของคนไข้ และ ได้ประโยชน์ในเรื่องของความสวยงามของฟัน

 

ข้อดี ของการทำรากเทียม

· รากเทียมจะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาฟันแท้หลุด กลับมามีความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันเหมือนเดิม

· ผู้ที่ทำรากเทียม จะรู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างการใส่ฟันปลอม ไม่เหมือนใส่ฟันปลอมแน่นอน ด้วยรากเทียมกับฟันแท้เลย เรียกว่าดูเป็นธรรมชาติ และ ทำงานได้อย่างใกล้เคียงกับฟันแท้มากที่สุด การบดเคี้ยวอาหารจะทำได้ดี ปัญหาการออกเสียงไม่ชัดก็จะหายไป

· การทำรากเทียม ไม่จำเป็นต้องกรอฟันที่อยู่ข้างเคียง จึงเป็นวิธีการรักษา ที่ไม่ทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงสูญเสียเนื้อฟันที่เป็นธรรมชาติไป

· ทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียงไม่ผิดรูป เพราะธรรมชาติของฟันจะต้องมีการพิงกัน ถ้าฟันเกิดช่องว่าง ไม่ขบกันเป็นเวลานาน ก็จะทำให้ฟันที่อยู่ข้างเคียง เกิดการเลื่อน หรือล้มจนผิดรูปได้

· เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเสริมสุขภาพช่องปาก ช่วยให้ไม่มีปัญหาฟันผุ หรือ ปัญหาเหงือกตามมา

 

ขั้นตอนการทำรากเทียม

1. ทันตแพทย์จะทำการประเมินผู้ป่วย โดยตรวจสอบ และ เช็กสภาพช่องปากโดยละเอียด พิจารณาประวัติการรักษาอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย

2. กรณีที่สามารถทำได้ ทันแพทย์จะทำการ x-ray3D เพื่อวิเคราะห์สภาพของกระดูก และ เนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะข้างเคียงที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการรักษา

3. เมื่อทุกอย่างพร้อมก็จะเข้าสู่กระบวนการขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียม ซึ่งจะเป็นการผ่าตัดเล็ก มีการให้ยาชาเฉพาะที่

4. เมื่อผ่าตัดใส่รากเทียม พร้อมทำการเย็บแผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะให้คนไข้พักรอประมาณ 3 - 6 เดือน เพื่อให้รากเทียมกับส่วนกระดูกเชื่อมติดกัน ระหว่างนี้แพทย์ก็จะนัดคนไข้ มาตรวจดูฟันเป็นระยะ ๆ

5. เมื่อครบกำหนดแล้ว แพทย์ก็จะนัดคนไข้เพื่อมาทำการผ่าตัดอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้จะเป็นการเติมส่วนที่เป็นแกนของฟันลงไปที่รากเทียม

6. สุดท้ายก็จะเป็นการทำฟันเทียมขึ้นมาใหม่ และ ยึดฟันเทียมเข้ากับรากเทียม ก็เป็นอันเรียบร้อย หลังจากนี้แพทย์ก็จะนัด มาตรวจดูความเรียบร้อยเป็นระยะไป

 

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการทำรากเทียม

· ผู้ที่มีปัญหาฟันหัก ฟันแตก หรือ บิ่น แล้วเกิดผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

· ผู้ที่ต้องการเสริมความแข็งแรง ให้กับฟันแท้ที่ยังคงเหลืออยู่เดิม

· ผู้ที่สูญเสียฟันแท้แล้ว สูญเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิต ไม่กล้ายิ้มและไม่กล้าพูดคุย

· ผู้ที่สูญเสียฟันแท้แล้ว เกิดปัญหาในการบดเคี้ยวจนทำให้รับประทานอาหารไม่ได้

· ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แล้วฟันปลอมไม่กระชับช่องปาก แม้จะแก้ไขแล้วก็ยังไม่หาย

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเข้ามาทำรากเทียม แพทย์ก็จะวินิฉัยมีปัจจัยต่าง ๆ ที่แพทย์จะต้องพิจารณาร่วมด้วย เพื่อให้การทำรากฟันมีประสิทธิภาพสูงที่สุด เช่น คนไข้มีปริมาณของกระดูกไม่เหมาะสมกับการฝังรากเทียม ก็อาจจะต้องมีการผ่าตัดเพิ่มเติมโดยการผ่าตัดยกเยื่อไซนัสเพื่อทำการปลูกกระดูก ซึ่งอาจทำก่อนการผ่าตัดฝังรากเทียมก็ได้ หรือจะทำไปพร้อม ๆ กันเลยก็ได้ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีไป

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

แน่ใจนะกับการจัดฟันราคาถูก นี่คือทางเลือกดีที่สุดสำหรับคุณจริงหรือ

จัดฟันแฟชั่นความสวยงามที่มีอันตรายซ่อนอยู่

 

 

dentistaonnut
LINE