Mon - Sun: 10.00AM to 08.00PM
ติดต่อสอบถาม: 02-012-0192

การรักษาด้วยวิธี รากฟันเทียม เหมาะกับใคร

admin01

การรักษาด้วยวิธี รากฟันเทียม เหมาะกับใคร

ในปัจจุบัน การรักษาฟันมีหลากหลายอย่างมาก ซึ่งการรักษา รากฟันเทียม ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งก็มีคนสนใจมาอย่างมาก ว่าเป็นแบบไหน ยังไง วันนี้ dentistaonnut จึงได้นำบทความว่าการทำ รากฟันเทียม เหมาะกับใคร มาฝากลองติดตามได้เลย

ปัญหาฟันหลอ ฟันไม่ครบ ฟันหัก ฟันแตก สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นวัยไหน เด็กวัยรุ่น วัยทำงาน ผู้ใหญ่ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาฟันต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ หมดไป เคี้ยวอาหารได้ กรณีก็ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ เช่น ฟันหน้าหัก อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ก็ไม่อยากใส่ฟันปลอมเพราะต้องคอยใส่คอยถอดเข้าออกตลอดเวลา และการทำสะพานฟันก็ต้องกรอฟันแท้สองซี่เพื่อครอบฟันซี่กลางที่มีปัญหา ทั้งหมดเป็นสามซี่ จึงต้องเสียเนื้อฟันแท้ที่ยังดีอยู่ไป

 

การทำรากฟันเทียมทำอย่างไร

1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจสภาพช่องปากของคนไข้อย่างละเอียดก่อน ตรวจ x-ray หรือ ถ้าจำเป็นก็จะทำ CT Scan ภาพ 3 มิติ เพื่อประเมินความหนาของกระดูกขากรรไกร และ เนื้อเยื่อบนสันเหงือก อาจทำการพิมพ์ปากเพื่อใช้วางแผนการรักษา และกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของรากฟันไทเทเนียม

2. ในการฝังรากฟันไทเทเนียมนั้น ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ให้ก่อน วิธีต่อไป คือ การผ่าตัดฝังรากฟันไทเทเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกร และ เย็บปิดแผล จากนั้น 7 - 14 วัน จึงมาตัดไหมที่เย็บออก รอประมาณ 3 - 6 เดือน เพื่อให้รากฟันเทียม ยึดติดกับกระดูกขากรรไกร

3. ทันตแพทย์จะใส่เครื่องมือที่ช่วยสร้างร่องเหงือก จากนั้น 1 - 2 สัปดาห์ จะทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งทำครอบฟัน

4. ทันตแพทย์จะใส่ครอบฟันให้ ก็จะได้ฟันที่สวยงาม และ มีประสิทธิภาพการใช้งานใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ

ถ้าฟันอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ยาก พร้อมกับมีเหงือกและกระดูกที่ดีอยู่แล้ว จะคล้ายกับการถอนฟันหรือบางทีอาจจะเจ็บน้อยกว่าด้วยซ้ำ การทำรากฟันเทียมจะมีระยะเวลาการทำที่นานสักหน่อยเพราะจะต้องรอให้รากเทียมเชื่อมติดกับกระดูกก่อนถึงจะทำต่อในส่วนของการครอบฟันได้ ส่วนมากมักจะใช้เวลาประมาณสามเดือนขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย

 

ใคร และเวลาไหน ที่ต้องทำ รากฟันเทียม

ส่วนใหญ่แล้ว คนที่มาทำ รากฟันเทียม หลัก ๆ ก็คือ ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ ต้องการการบดเคี้ยวที่ดี หรือ ทดแทนฟันที่เหลืออยู่แต่ไม่แข็งแรง และ ต้องการยิ้ม พูดคุยได้อย่างมั่นใจโดยทั่วไปแล้ว การรับการรักษาด้วยรากฟันเทียม สามารถทำได้ทุกคนโดยไม่กำหนดช่วงอายุ แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดยผู้ที่ไม่เหมาะสมจะทำรากฟันเทียม คือ

 

- ผู้ที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่

- หญิงตั้งครรภ์ ควรรอให้คลอดบุตรก่อนทำรากฟันเทียม

- ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน มีความเสี่ยงต่อการที่เลือดจะไหลไม่หยุด ผู้ป่วยมะเร็ง ที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณ ใบหน้า และ ขากรรไกร ผู้ป่วยลูคิเมีย ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง หรือ สูบบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีโรคข้างต้นนี้ จะส่งผลทำฟันเทียม ยากกว่าคนปกติ

- ผู้ป่วยจิตเภท หรือ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเองได้

 

คุณเหมาะกับการใส่ รากฟันเทียมหรือไม่

- ผู้ที่มีฟันแตก หัก หรือบิ่น สมควรได้รับการถอนฟันจากทันตแพทย์ และทำรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่เสียไป

- เหงือกบริเวณที่จะทำการปลูกรากฟันเทียม ไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้การปลูกรากฟันเทียมล้มเหลวได้

- ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

- ผู้ที่มีการสูญเสียฟันแท้ไปสามารถรับการรักษาด้วยรากฟันเทียมได้ทุกคนโดยไม่กำหนดช่วงอายุ แต่ไม่ควรทำในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่

- สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์  ควรคลอดบุตรก่อน

- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได ไม่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม

- ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกไม่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม

- ผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นลูคิเมีย ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม

- สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือสูบบุหรี่จัดจะมีผลต่อความสำเร็จในการรักษา ไม่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม

- ส่วนผู้ป่วยจิตเภท ผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเองได้ ไม่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม

 

ข้อดีของ รากฟันเทียม

- ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

- ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง

- สามารถบดเคี้ยวได้ดี

- ไม่มีปัญหาเรื่องการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่น ๆ

- ช่วยให้รู้สึกสบายเมื่อใส่ฟันเทียมแบบถอดได้ แน่นกระชับมากยิ่งขึ้น

- ป้องกันการสูญเสียฟัน และกระดูกข้างเคียง

- สวยงาม ดูเป็นธรรมชาติ

- เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก

- มีความคงทน

- เมื่อใช้ร่วมกับฟันเทียมแบบถอดได้ จะหมดปัญหาฟันเทียมขยับระหว่างพูดคุย หรือทานอาหาร

 

ความเสี่ยง

การทำรากฟันเทียม ก็เหมือนการผ่าตัดอื่น ๆ ซึ่งก็มีความเสี่ยง และปัญหาจากการ ผ่าตัดรากฟัน ที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจมีอาการดังนี้ ได้แก่ ติดเชื้อที่ตำแหน่งรากฟันเทียม บาดเจ็บหรือทำลายอวัยวะรอบข้าง เช่น ฟันข้างเคียงหรือเส้นเลือด บาดเจ็บเส้นประสาท ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวด ชา หรือความรู้สึกคล้ายเหน็บชาที่บริเวณ ฟัน เหงือก ริมฝปากและคาง โพรงอากาศไซนัสอักเสบ เมื่อผ่าตัดฝังรากเทียมบริเวณฟันบน และเกิดการทะลุเป็นช่องระหว่างปาก และโพรงอากาศ

 

การเตรียมตัวเข้ารับการทำรากฟันเทียม

ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยรากฟันเทียม ต้องมีการตรวจ และประเมินช่องปากโดยละเอียดจาก ทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังเพราะอาจแก้ไขได้ยากมาก อีกทั้งทันตแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ และความชำนาญ สามารถเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ มีความเข้าใจเรื่องการบดเคี้ยว และขั้นตอนทางทันตกรรมประดิษฐ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาอยู่ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ และที่สำคัญผู้ป่วยควรดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ดีก่อนเข้ารับการรักษา

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

รากฟันเทียม ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

เหตุผลดีๆ ของการทำรากฟันเทียม

 

 

dentistaonnut
LINE