Mon - Sun: 10.00AM to 08.00PM
ติดต่อสอบถาม: 02-012-0192

รากฟันเทียม ( Dental Implant ) แต่ละประเภท นั้นแตกต่างกัน อย่างไร

admin01

สวัสดีค่ะ เพื่อน ๆ คนไหนที่มีแพลนที่จะทำ รากฟันเทียม ( Dental Implant ) กันไหมคะแล้ว เพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่า รากฟันเทียม ( Dental Implant ) นั้น มีหลายประเภท และ แต่ละประเภทนั้นแตกต่างกัน มาดูกันดีกว่าค่ะว่า แตกต่างกันอย่างไร ?

 

รากฟันเทียม ( Dental Implant ) คือ อะไร ?

รากฟันเทียม หรือ ทันตกรรมรากเทียม ( Dental Implant ) คือ การแก้ปัญหา การสูญเสียฟันแท้ ที่หลุดไปด้วยการผ่าตัด ฝังโครง รากฟันเทียม ( Dental Implant ) เพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ตรงตำแหน่งที่สูญเสียฟัน เเละ รากฟันธรรมชาติไป จากนั้นทันตแพทย์ อาจจะทำฟันปลอม หรือ ครอบฟันมายึดติดกับราก ทดแทนฟันที่หลุดไป เพื่อให้ฟันบดเคี้ยว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทียบเท่าฟันจริง

 

ขณะที่การทำ ฟันปลอมแบบอื่น ๆ อาจจะพบปัญหา เรื่องความไม่เป็นธรรมชาติ มีการเคี้ยวอาหาร ที่ติดขัดอยู่บ่อย ๆ รากฟันเทียม ( Dental Implant ) เป็นทันตกรรมฟันปลอม แบบติดแน่นที่มีคุณสมบัติ เหมือนฟันธรรมชาติ จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ช่วยทำให้ฟันยังคงอยู่ครบ ทานอาหารได้ราบรื่นกว่า ไม่ต้องวุ่นวายถอดฟันปลอม และ ดูแลทำความสะอาด ได้ง่ายแสนง่าย ไม่ต่างจากฟันแท้ของเรา โดยเฉพาะถ้าได้รับ การดูแลรักษา รากฟันเทียม ( Dental Implant ) ด้วยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะยิ่งทำให้คุณทานอาหารได้ง่าย พูดคุย และ ยิ้มได้อย่างมั่นใจ

 

 

การทำ รากฟันเทียม ( Dental Implant ) มีระยะพักฟื้นนานไหม

ปกติการทำ รากฟันเทียม ( Dental Implant ) ใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วัน เท่านั้น ถ้าคนไข้มีกระดูกรองรับ รากเทียมไม่เพียงพอ หรือ มีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี ต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือ เสริมเนื้อเยื่อเหงือก ก็จะมีระยะการพักฟื้นที่นานกว่า

 

ประเภท ของ รากฟันเทียม ( Dental Implant )

รากฟันเทียม ( Dental Implant ) แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

- Conventional implant

- Immediate implant

- Immediate loaded implant

 

1. การฝังรากเทียมแบบธรรมดา ( Conventional implant )

การฝังรากเทียมแบบธรรมดา ( Conventional implant ) ใช้ได้ในคนไข้ ที่ทำรากฟันซี่เดียว เเละ หลายซี่ ในการฟื้นฟูรากฟัน แบบถาวรนี้ มีขั้นตอนการรักษา 2 ช่วง คือ เมื่อทันตแพทย์ฝังรากเทียม เเล้วต้องรอให้กระดูกยึด กับรากเทียมก่อนใช้เวลาราว ๆ 3 เดือน หลังจากนั้น จึงจะติดฟันปลอม เข้ากับรากเทียมได้

 

วิธีการปลูกถ่าย แบบธรรมดานี้ ถือว่ามีข้อจำกัด ในการรักษาน้อย สามารถรักษาได้ครอบคลุม ทุกสภาพกระดูก เเต่กรณีที่มีการสูญเสียกระดูก ระดับปานกลาง จนถึงขั้นรุนแรง ในบริเวณที่จะต้องฝังรากฟันเทียม ( Dental Implant ) ทันตแพทย์จะเเนะนำ ให้ปลูกกระดูกก่อน

 

 

2. การฝังรากเทียมแบบทันที ( Immediate Implant )

การฝังรากเทียมแบบทันที ( Immediate Implant ) ใช้ระยะเวลาในการปลูกถ่าย เพียงแค่หนึ่งวัน เป็นการใส่ รากฟันเทียม ( Dental Implant ) ในเวลาเดียวกัน หลังจากถอนฟัน ข้อดีของการปลูกถ่ายแบบทันที คือ ลดขั้นตอน และ ระยะเวลาการรักษาลง ทำให้การละลายของกระดูก และ โอกาสการเกิดเหงือกร่นลดลงด้วย

 

โดยทั่วไป การฝังรากเทียมแบบทันที ( Immediate Implant ) นี้จะเหมาะสำหรับคนไข้ ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรที่สมบูรณ์ดี ตำแหน่งฟันที่เหมาะ สำหรับวิธีการนี้คือ ฟันหน้า หรือ ฟันกรามน้อย ต้องไม่มีพยาธิสภาพ ที่ปลายรากฟันที่จะถอน และ จำเป็นต้องมีปริมาณ กระดูกเพียงพอ ให้รากฟันเทียมยึดด้วย

 

 

3. การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม ( Immediate Loaded Implant )

การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม ( Immediate Loaded Implant ) เช่น การทำครอบฟันแบบชั่วคราว หรือ แบบถาวร หลังจากฝัง รากฟันเทียม ( Dental Implant ) ที่บริเวณกระดูกขากรรไกรแล้ว อุปกรณ์ฟันปลอม แบบใส่ได้ทันที จะเหมาะกับคนไข้ ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรดี

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

จัดฟันแบบใส เร็วกว่าหรือไม่

ฟอกสีฟัน ขาวขึ้นจริงไหม

dentistaonnut
LINE