Mon - Sun: 10.00AM to 08.00PM
ติดต่อสอบถาม: 02-012-0192

เกลารากฟัน / ขูดหินปูน

โรคเหงือกหนึ่งปัญหาช่องปากที่คุณควรรีบรักษาก่อนจะเรื้อรัง

โรคเหงือก (Periodontic) เป็นอาการอักเสบของเหงือก ซึ่งเกิดขึ้นได้จากเชื้อแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์บางชนิดที่ก่อตัวสะสมอยู่ที่ฟัน เมื่อเชื้อสะสมนานวันเข้าก็จะส่งผลทำเกิดการระคายเคืองที่เหงือก หรือทำให้เหงือกบวม ปัญหานี้เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างอย่างถูกต้อง ก็อาจลุกลามไปเป็นการติดเชื้อที่ช่องปากและฟันบริเวณอื่น ๆ ได้

สาเหตุของโรคเหงือก

เหงือกอักเสบ เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่ก่อตัวขึ้น ตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก ลักษณะเป็นคราบสีขาวขุ่นนุ่ม ที่ประกอบด้วยแบคทีเรีย และคราบอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่เกาะบนผิวฟัน จากการทำความสะอาดฟันที่ไม่ดีพอ ทำให้คราบเหล่านั้น กลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ส่งผลให้แบคทีเรียเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้น และเมื่อแบคทีเรียบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเข้าไป ก็จะปล่อยกรดและสารพิษออกมากระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ผลก็คือ เป็นโรคเหงือกเหงือกบวมแดงอักเสบ และมีเลือดออก โรคเหงือกในระยะแรกเริ่มนี้ยังสามารถรักษาให้กลับมาอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์เหมือนเดิมได้ เนื่องจากกระดูกและเนื้อเยื่อโดยรอบที่พยุงและโอบรัดฟันยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ถ้าปล่อยเอาไว้ก็จะรุนแรงขึ้นและรักษายากขึ้นด้วย

ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดโรคเหงือกได้ มีดังนี้
  • อายุ โรคเหงือกมันพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
  • เพศ โดยเพศหญิงนั้น มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเหงือกมากกว่าเพศชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงวัยเจริญพันธุ์
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มน้ำอัดลม ชา หรือกาแฟในปริมาณมาก การกินของทอดหรือของมันเยอะ ๆ แล้วไม่แปรงฟันหรือทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดหลังจากการรับประทานอาหาร
  • ความเครียด ความเครียดส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ และติดเชื้อได้ง่าย
  • การใส่เครื่องมือจัดฟัน เพราะอาจจะทำให้การขจัดคราบพลัคเป็นไปได้อย่างยากลำบาก
  • ปัญหาด้านสุขภาพหรือโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน ภาวะขาดสารอาหาร กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม การติดเชื้อไวรัส HIV หรือเอดส์
อันตรายของโรคเหงือก 3 ระยะ
  • 1. ระยะเริ่มต้น : อาจเรียกว่าเป็นระยะเหงือกอักเสบก็ได้ เชื้อแบคทีเรียที่สะสมเริ่มจะทำให้เหงือกระคายเคือง สังเกตได้จากการแปรงฟันแล้วมีเลือดออก หรือขัดฟันด้วยไหมขัดฟันแล้วมีเลือดออก
  • 2. ระยะเยื่อหุ้มฟันเกิดการอักเสบ : ระยะนี้เยื่อหุ้มฟันจะเริ่มถูกทำลาย เหงือกจะเริ่มมีอาการร่น และเกิดเป็นโพรงที่ใต้รอยต่อของฟัน
  • 3. ระยะรุนแรง : เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่พยุงฟันจะถูกทำลายจนแทบจะหมด ซึ่งจะทำให้คนไข้มีอาการฟันโยก หรือเคี้ยวอาหารไม่สะดวก
เมื่อรู้ว่าอาการอักเสบของเหงือกอันตรายและส่งผลเสียต่อเราขนาดนี้แล้ว จึงควรจะต้องรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ
การรักษาโรคเหงือก มีอะไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้วเมื่อเหงือกเกิดการอักเสบก็จะมีรูปแบบการรักษาอยู่ 2 ประการนั่นคือ

  • 1. การขูดหินปูน – หากอยู่ในระยะเหงือกอักเสบเบื้องต้นเพราะมีหินปูน ทันตแพทย์ก็จะทำการขูดหินปูน ซึ่งปัจจุบันคลินิกทันตกรรมชั้นนำมักจะรักษาโดยเครื่องมือขูดหินปูน ซึ่งแบบนี้จะไม่เจ็บและใช้เวลารักษาไม่นาน
  • 2. เกลารากฟัน – กรณีที่เป็นโรคเหงือกที่ค่อนข้างรุนแรงแล้ว การขูดหินปูนแบบทั่วไปจะไม่เพียงพอ ทันตแพทย์ก็จะทำการเกลารากฟัน โดยใช้เครื่องมือเฉพาะทำความสะอาดที่ผิวรากฟัน ซึ่งกรณีนี้จะต้องใช้เวลาในการรักษามากกว่า ต้องมาพบหมอหลายครั้ง

ซึ่งคุณจะเห็นว่าการปล่อยให้หินปูนเกาะมาก ๆ จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ลุกลามกลายเป็นโรคเหงือกรุนแรงนั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย แม้จะรักษาได้ก็จริง แต่วิธีการก็ยุ่งยากซับซ้อนกว่า ต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายที่มากกว่าด้วย

ดังนั้น จะต้องรักษาความสะอาดฟัน แปรงฟันให้ถูกวิธีหมั่นขัดฟันด้วยไหมขัดฟัน หากมีหินปูนเริ่มเกาะก็ให้รีบพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการขูดหินปูนเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะกลายเป็นปัญหาที่ลุกลาม ก็จะดีที่สุด

หากคุณต้องการรักษาโรคเหงือก แต่ไม่รู้จะไปที่คลินิกไหนดี มาที่เดนทิสต้า อ่อนนุชได้เลย ทันตแพทย์ก็มากประสบการณ์ บริการก็ดี เทคโนโลยีการรักษาก็ทันสมัย อีกทั้งยังพร้อมทำให้คุณประทับใจด้วยบริการที่ดี ปรึกษาก็ฟรีพร้อมบริการคุณทันทีตามเวลานัดหมาย ที่สำคัญทุกบริการจากที่นี่คิดราคาอย่างยุติธรรม รับรองเป็นบริการคุณภาพที่คุ้มค่าคุ้มราคาอย่างแน่นอน

dentistaonnut

ราคาค่ารักษา

ไม่มีค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน
ให้เดนทิสต้าบริการคุณ
LINE